วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS03-30/06/2009

สรุปบทเรียน Array and Record

อาร์เรย์หมายถึงการจัดชุดของข้อมูลที่เป็นชนิดเดียวกันที่กำหนดโดยรูปแบบของช่องตาราง
ที่จัดเก็บจะต้องเท่ากันทุกช่องโดยทั่วไปอาร์เรย์จะมี 1 มิติ 2 มิติ และหลายมิติ


อาร์เรย์ 1 มิติ
เป็นตัวแปรที่เก็บข้อมูลเพียงแถวเดียวหรือชั้นเดียวเช่น



ในการคำนวณหาสมาชิกของอาร์เรย์ 1 มิติทำได้ดังนี้
จำนวนสมาชิกของอาร์เรย์ = (u-l)+1
u คือค่าสูงสุด หรือ Upper bound
l คือค่าต่ำสุด หรือ Lower bound

ส่วน 2 มิติสามารถหาได้ดังนี้

จำนวนสมาชิก = M x N


รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์มิติเดียว

type array-name[n];
type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้น
array-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปร
และจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วย
n คือขนาดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น

เช่น int num[3];

การกำหนดข้อมูลให้กับตัวแปรอาร์เรย์
เราสามารถกำหนดไปพร้อมกับการประสร้างตัวแปรได้เลย เช่น

type array-name = {value-1,value-2,....value-n};

value-1,value-2 คือข้อมูลที่กำหนดให้ตัวแปรและต้องเป็นชนิดเดียวกับตัวแปรนั้น ๆ ด้วย เช่น

int number[3] = {23,-123,43};
char name[5] = "BENZ";

อาร์เรย์ 2 มิติ
มีลักษณะการกำหนดตำแหน่งแบบแถวและคอลัมน์

รูปแบบของการประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ

type array-name[n][m];
type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น เช่น int,float,char เป็นต้น
array-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อและเข้ากับชนิดของตัวแปร
และจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วย
n คือ จำนวนแถวของตัวแปรอาร์เรย์
m คือ จำนวนคอลัมน์ของตัวแปรอาร์เรย์

เช่น int num[3][5];

Structure โครงสร้างข้อมูล
หมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วย
ชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูล ดังภาพ



แต่ในการเรียนใช้งานจริง ๆ เราจะต้องสร้างตัวแปรชนิดโครงสร้างขึ้นมาใช้งานจริง ๆ
ไม่สามารถใช้โครงสร้าง student ได้
การประกาศตัวแปรชนิดโครงสร้าง
struct name {
type var-1;
type var-2;
.....
type var-n;
} struct-variable;

struct คือ คำที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล
(ต้องมีเสมอ)
name คือ ชื่อของโครงสร้างข้อมูลที่จะสร้างขึ้น
type var-1,type var-2 คือชื่อตัวแปร
ในกลุ่มโครงสร้างข้อมูล
struct-variable คือชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้าง
ที่ต้องการสร้างขึ้นจะมีลักษณะโครงสร้างภายใน
เหมือนกับโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด


** กรณีประกาศตัวแปรโครงสร้างหลายตัวใช้คอมม่าขั้นหรือประกาศอีกแบบ เช่น
struct struct-name variable;

ตัวอย่าง
struct student student1;

*** เราสามารถประกาศ Structure หนึ่งเป็นสมาชิกของอีก Structure ก็ได้
แต่ต้องประกาศตัวที่จะนำไปใส่ไปไว้อีก Structure ก่อน

การอ้างถึงสมาชิกในตัวแปรชนิดโครงสร้าง
struct-name.variable-name
struct-name คือ ชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้าง (ไม่ใช่ชื่อโครงสร้าง)
. คือเครื่องหมายขั้นระหว่างชื่อตัวแปรชนิดโครงสร้างกับตัวแปรที่เป็นสมาชิก
variable-name คือชื่อของตัวแปรที่เป็นสมาชิก


การกำหนดข้อมูลให้ตัวแปรชนิดโครงสร้าง
เราสามารถกำหนดได้เหมือนตัวแปรทั่วไปแต่ต้องอ้างอิงถึงสมาชิกให้ถูกต้อง เช่น

student1.age = 15;
student1.sex = 'M';

กรณีถ้าเป็นอาร์เรย์ของตัวแปรชนิดโครงสร้างสามารถเขียนได้ดังนี้

student1[0].age = 15;
student1[1].sex = 'M';

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

VDO แนะนำตัว


VDO แนะนำตัว

นายธีระ หนูเอี่ยม


วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-23/06/2009

สรุปบทเรียน

เรียน ความหมายของโครงสร้างข้อมูล ได้รู้ว่า โครงสร้างข้อมูลมี 2 ประเภท

1.โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
2.โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ

โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ ได้แก่ แถวลำดับ(เป็นการเก็บข้อมูลเดียวกันเท่านั้น) ระเบียนข้อมูล (เป้นการเก้บข้อมูลมากกว่า 1 ชนิด ใน Key เดียวกัน) และ แฟ้ม ข้อมูล

โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ มี 2 ประเภท
1. โครงสร้างข้อมูลแบบชิงเส้น (จะมีรูปแบบที่สัมพันธ์ และต่อเนื่องกัน)
2. โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น (มีความสัมพันธ์ในหลายทิศทาง หรือ หลากหลายนั้นเอง)

การแทนข้อมูลในหน่วยความจำหลัก มี 2 ประเภท
1 การแทนที่ข้อมูลแบบสแตติก
( เป็นการแทนที่ข้อมูลที่ต้องจองก่อน และไม่สามารถ ลด หรือเพิ่ม ในภายหลังได้)
2.การแทนข้อมูลแบบไดนามิก
(เป็นการแทนที่ข้อมูลโดยไม่ต้องจอง และสามารถ เพื่มหรือลด ในภายหลังได้)

ขั้นตอนวิธี
คือการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ สามารถเขียนได้หลายแบบ กระชับและเหมาะสม

ขั้นตอนมี 7 ข้อ
พูดโดยรวมแล้ว ให้มีความถูกต้อง มีความรวดเร็วในการทำงาน มีความยืดหยุ่นในการทำงานและ
ง่ายต่อการเข้าใจ พัตนาง่าย หรือพูดอีกอย่างคือ ทำให้ดีที่สุดในทุกๆทางที่จะทำได้

เรื่อง สัญลักษณ์ ในการเขียนผังงาน(ตัวดำเนินงานในรูปลักษณ์ของผังงาน)

เรื่องนิพจน์(เรื่อง เครื่องหมาย > < = )

เรื่อง ภาษาขะนตอนวิธี
1.ตัวแปรต้องเป้น อักษร อักษรผสม และตัวเลข
2.การกำหนดตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3.นิพจน์ การคำนวนตามลำดับขั้นตอน
4.ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือ
Goto เลขที่ชั้นตอน
5.เรื่องเงือนไข
แบบทางเลือกเดียว
if (condition) then statement 1
แบบสองทางเลือก
if (condition) then statement 1
else statement 2

6. การวนซํา
7.คำอธิบาย บอกถึงรายละเอียดต่างๆของขั้นตอนทำงาน

มีการทดสอบ หลัง ช.ม
ทดสอบว่า รู้ จักความหมายของตัวแปร
ทดลอบ ว่ารู้จักการวนวซซํา หรือไม่
for(I=1,I<10,I++);
วนกลับทั้งหมด 10 ครั้ง Iจะมีค่า=10 ในแต่ละรอบ I จะบวก 1

การบ้าน

#include <stdio.h>
#include <string.h>
void main()
{
struct resume {
char name[20],surname[20],nickname[10],sex[10],id[15];
int age;
short int thisyear;
long int birthyear;
float grade;
double run;
unsigned long int hight;
unsigned int weight;

};

struct resume student;
strcpy(student.name,"Teera");
strcpy(student.surname,"Noo-eiam");
strcpy(student.nickname,"Pack");
strcpy(student.id,"50132792077");
strcpy(student.sex,"male");
student.grade=2.64;
student.thisyear=2009;
student.birthyear=1988;
student.hight=178;
student.weight=77;
student.run=1.981231;
student.age=21;

printf(" Name:%s\n\n",student.name);
printf(" Surname:%s\n\n",student.surname);
printf(" Nickname : %s\n\n",student.nickname);
printf(" ID : %s\n\n",student.id);
printf(" Age:%d\n\n",student.age);
printf(" Grade:%.2f\n\n",student.grade);
printf(" Sex:%s\n\n",student.sex);
printf(" Hight : %d cm.\n\n",student.hight);
printf(" Weight : %d km.\n\n",student.hight);
printf(" Run 100 m. : %f minute\n\n",student.run);
printf(" Birth :%d\n\n",student.birthyear);
printf(" This Year : %d\n",student.thisyear);
}

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ




นายธีระ หนูเอี่ยม รหัสประจำตัว 50132792077


Mr.Teera Noo-eiam


ชื่อเล่น แพ็ค


หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะ วิทยาการจัดการ



มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต



e-mail address : u50132792077@gmail.com