วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS04-21/07/2009

เรื่อง Set and String

โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มี ความสัมพันธ์กัน ในภาษาซี จะไม่มี
ประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล แต่สามารถใช้หลักการของ
การดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้

ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators) ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference เป็นต้น

สมมติว่า ต้องการจัดตารางเรียน 4 วิชา ได้แก่ Math, English,Physics และ
Chemistryให้กับผู้ลงทะเบียนเรียน

วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น
- จะต้องกำหนดเซ็ตของผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชา
- นำเซ็ตดังกล่าวที่ได้มาทำการ intersection กัน หากมีเซ็ตใดที่ทำการ
intersect กันแล้วมีข้อมูลสมาชิกในเซ็ตที่ซ้ำกันอยู่ จะไม่สามารถจัด
ให้วิชาดังกล่าวอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้


โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (CharacterString) เป็นข้อมูล
ที่ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป
รวมทั้งช่องว่าง

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริง
มีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor)
หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) ซึ่งมีการทำงาน
ที่อำนวยความสะดวกหลายอย่างเช่น การตรวจสอบข้อความ
การจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น



สตริงกับอะเรย์
สตริง คือ อะเรย์ของอักขระเช่น char a[6] อาจจะเป็นอะเรย์ขนาด 6 ช่อง
อักขระ หรือเป็นสตริงขนาด 5 อักขระก็ได้ โดยจุดสิ้นสุดของ string
จะจบด้วย \0 หรือ null character
เช่น
char a[ ]={‘H’, ‘E’, ‘L’, ‘L’, ‘O’, ‘\0’};
char a[ ]=“HELLO”;

การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว (String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์

อะเรย์ของสตริง
ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่
จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้าง
ได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปร

การกำหนดตัวแปร country จะแตกต่างกับการกำหนดตัวแปรอะเรย์
เพราะเป็นการกำหนดตัวแปรพอย
เตอร์ขึ้น 4 ตัว โดยให้แต่ละตัวชี้ไปยังค่าคงตัวสตริงทั้ง4 ตัว โดยที่
contry[0] จะชี้ไปที่ข้อมูลแรก contry[1]จะชี้ข้อมูลที่สอง contry[2]
จะชี้ข้อมูลที่สาม และcontry[3] จะชี้ข้อมูลตัวสุดท้าย
ในการเขียนค่าเริ่มต้น คือ ค่าคงตัวสตริง เขียนไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
ปีกกา และข้อมูลในเครื่องหมาย
คำพูด คือ ค่าคงตัวสตริง


ฟังก์ชัน puts ( ) ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ โดยการผ่านค่า
แอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น
ข้อสังเกต
การกำหนดอะเรย์ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริง
ตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจากขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน
แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์

อะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากันอะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์
ที่แท้จริงและสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น และ
เมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

เช่น
char fruit [3][7]={“Apple”, “Orange”, “Mango”};

กำหนดตัวแปร fruit เป็นแบบ 3 แถว 7 คอลัมน์ ในแต่ละช่องจะเก็บ
ข้อมูลแบบอักขระอะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากัน อะเรย์ในลักษณะนี้
จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง และสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น
และเมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการ
ตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน : ได้ทราบถึงการนำ Set และ String สามารถนำ
มาใช้กับ อะเรย์ ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น